Symmetry Shading Scatter Plot

Thanachart Ritbumroong
2 min readAug 13, 2021

--

ด้วยความที่เป็นคนชอบใช้ Scatter Plot มาก เวลาอยากจะ plot graph ก็จะนึกถึงก่อนเป็นอย่างแรก เลยอยากมานำเสนอวิธีการสร้างกราฟโดยใช้ Scatter Plot กับ Symmetry Shading เพื่อช่วยให้การทำ Comparison ง่ายขึ้น

Comparison

หนึ่งในรูปแบบการแสดงผลข้อมูล คือ การเปรียบเทียบ หรือ Comparison และการเปรียบเทียบข้อมูลที่ต้องการแสดงให้เห็นอยู่เป็นประจำ ก็คือ การเปรียบเทียบค่า Actual เทียบกับ Target หรือเทียบกับ Last Period หรือ Last Year

ลองมาดูจากตัวอย่างกันครับ สมมติว่า เรามี 2 Store คือ A และ B จาก Data ในตารางด้านล่าง จะเห็นว่า Store A มี Target ไม่สูง แต่ Performance ดีมาก ส่วน Store B นั้น มียอดขายน้อยกว่า Target ที่ตั้งไว้มาก ถ้าดูข้อมูลละเอียด เราจะต้องรู้สึกว่า Store B นี่มีปัญหามาก

Sales Performance

Visualizing Actual vs. Target

ด้วยข้อมูลแบบนี้ เราจะใช้กราฟแบบไหน แสดงผล Actual กับ Target กันดีครับ format ที่โดยส่วนตัวชอบ ก็คือ ใช้ Actual เป็น Column แล้วใช้ Target เป็น Line เราจะได้เห็นว่า Column ของเราทะลุ หรือ ตก Target Line ดูแล้วมันสื่อความหมายดี

หรือเราจะใช้ Line Graph 2 อันคู่กันก็ได้ครับ (ก็ยังชอบแบบบนมากกว่าอยู่ดี)

ถ้าดูจากกราฟในภาพรวมรายวันก็จะเห็นว่า ชีวิตเรามีสุขมาก Actual เกิน Target ทุกวันเลย แต่ในความเป็นจริงนั้น Store A เป็นฝ่ายแบก Performance ให้ Store B ที่ยอดขายแย่เหลือเกิน

กรณีแบบนี้ เราก็ควรจะต้องแสดงผล Performance ราย Store จะดีกว่า ซึ่งก็นึกไม่ออกว่าจะใช้กราฟอะไรดี ลองเอา Clustered Column มาแสดงดูหน่อย เทียบแบบตีคู่กันไปเลยว่า Store ไหน Actual สูงหรือต่ำกว่า Target บ้าง

Column Chart นี้ ถ้ามีแค่ 2 Store ก็ยังพอจะดูง่าย แต่ถ้ามีหลาย Store เราก็จะมีหลาย Column ลายตามาก

Symmetry Shading Scatter Plot

เวลามี data point หลายจุด กราฟที่จะชอบนำมาใช้ ก็คือ Scatter Plot เพราะแสดงผลได้หลาย data point มาก แล้วก็ยังไม่ดูวุ่นวาย

เราจะเอา Scatter Plot มาใช้ในการแสดงผลเปรียบเทียบค่า Actual กับ Target กันครับ

  • Target เราจะเอาไว้ที่แกน X
  • Actual เราจะเอาไว้ที่แกน Y
  • ถ้าใช้ PowerBI ให้เข้าไปที่ Analytics Tab แล้วไปที่ Symmetry Shading แล้วกด Add เลือกสีตามใจชอบเลยครับ

จะได้หน้าตากราฟแบบด้านล่าง

วิธีอ่านกราฟนี้ ก็คือ

  • เส้นทแยงมุมที่เกิดขึ้นจาก Symmetry Shading คือ เส้นที่ค่า Actual = Target
  • Area ด้านบน คือ Zone ที่ Actual > Target
  • Area ด้านล่าง คือ Zone ที่ Actual < Target
  • Store A มีค่า Actual สูงกว่า Target ก็จะไปตกอยู่ใน Zone ด้านบนที่ใช้สีเขียว
  • Store A มีค่า Actual ต่ำกว่า Target ก็จะไปตกอยู่ใน Zone ด้านล่างที่ใช้สีแดง

เมื่อเราใส่ข้อมูลของหลายๆ Store เข้าไปเพิ่ม เราก็จะสามารถ Track Performance ของราย Store ได้อย่างง่ายดาย ดูแล้วเห็นได้ทันที ใครตกเป้า ใครเกินเป้า ใคร Deviate จากค่า Target ไปมากน้อย

เป็นหนึ่งในกราฟท่าไม้ตายที่ผมชอบใช้เป็นประจำเวลาทำ Dashboard เลยครับ ลองเอาไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ เป็นกราฟที่ช่วยให้สามารถ Take Action ได้ตรงเป้าตรงจุดมากครับ

--

--

Thanachart Ritbumroong

Lecturer at Management of Analytics and Data Science Program, National Institute of Development Administration, Thailand and Data Analytics Consultant